Home
About us
Wood Pellet
Article
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ก๊าซเรือนกระจก
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโลก
ความหมายของชีวมวล
ประโยชน์ของชีวมวล
การใช้เชื้อเพลิงชีวมวลถ่ายหิน
การใช้เชื้อเพลิงชีวิมวลน้ำมันเตา
Contact us
เมนูเว็บไซต์
Home
About us
Wood Pellet
Article
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ก๊าซเรือนกระจก
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโลก
ความหมายของชีวมวล
ประโยชน์ของชีวมวล
การใช้เชื้อเพลิงชีวมวลถ่ายหิน
การใช้เชื้อเพลิงชีวิมวลน้ำมันเตา
Contact us
Link
•
มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
•
กระทรวงพลังงาน
•
กรมพัฒนาพลังงานทดแทน
และอนุรักษ์พลังงาน
•
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
•
องค์การบริหารจัดการก๊าซ
เรือนกระจก (องค์การมหาชน)
Article » ประโยชน์ของชีวมวล
มนุษย์ได้รู้จักนำชีวมวลมาใช้เป็นพลังงานตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว จนต่อมาโลกได้มีการพัฒนาเจริญมากขึ้น ใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจึงได้นำเชื้อเพลิง เช่นน้ำมันดิบ ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติมาทดแทน ทำให้พลังงงานจากชีวมวลมีบทบาทน้อยลงมากในปัจจุบันนี้
การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกนั้น ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศมีความสามารถในการกักเก็บรังสีความร้อนได้มากขึ้น ผลที่ตามมาคือ อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นด้วย แต่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกนั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดยังมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก (Global Warming Potential: GWP) ที่แตกต่างกัน ค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนี้ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการแผ่รังสีความร้อนของโมเลกุล และขึ้นอยู่กับอายุของก๊าซนั้นๆ ในบรรยากาศ และจะคิดเทียบกับการแผ่รังสีความร้อนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น 20 ปี 50 ปี หรือ 100 ปี โดยค่า GWP ของก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ในช่วงเวลา 100 ปี ของก๊าซเรือนกระจกต่างๆ เป็นดังนี้
การนำชีวมวลมาเป็นเชื้อเพลิงมีข้อดีหลายประการคือ
1. การเผาไหม้สสารทุกชนิดจะเกิดก๊าซคาร์บบอนไดออกไซด์ซึ่งล่องลอยไปในอากาศและห่อหุ้มโลกไว้
เมื่อแสงอาทิตย์ส่องลงมายังโลก รังสีบางส่วนไม่สามารถสะท้อนกลับออกไปได้ทำให้โลกร้อนขึ้น
จึงเรียกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ว่าเป็นก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas)แต่ก๊าซคาร์บอน
ไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาชีวมวลจะถูกหมุนเวียนกลับไปใช้โดยพืชเพื่อสังเคราะห์แสง ดังนั้นการ
เผาชีวมวลไม่ถือว่าก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (Carbon Neutral)
2. การไม่นำชีวมวลมาใช้ โดยปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ เช่น มูลสัตว์ จะเกิดก๊าซมีเทนซึ่งถือ
ว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งและมีอันตรายกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 21 เท่า
3. ชีวมวลจะมีกำมะถันหรือซัลเฟอร์ไม่เกิน 0.2 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการนำชีวมวลมาเผาไหม้ จะไม่สร้าง
ปัญหาเรื่องฝนกรด (น้ำมันเตามีปริมาณกำมะถันประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนถ่านหินมีปริมาณ
กำมะถันประมาณ 0.3-3.8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของถ่านหิน)
4. ขี้เถ้าของชีวมวลมีสภาพเป็นด่าง ดังนั้นเหมมาะสมที่จะนำไปเพาะปลูกหรือปรับสภาพดินที่เป็นกรด
แต่ขี้เถ้าจากการเผาถ่านหินจะมีสารโลหะหนักะปนอยู่ ดังนั้นต้องนำไปฝังกลบอย่างถูกวิธีเช่นมีผ้า
ยางรองรับด้านล่าง
5. ช่วยลดภาระในการกำจัดเช่น นำไปฝังกลบและเผาทิ้งเป็นต้น
6. ก่อให้เกิดการสร้างงานในท้องถิ่น ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีการประเมินว่าการนำชีวมวลในท้องถิ่นมา
ใช้ทำเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่าและรายได้ประชาชาติสูงขึ้น กล่าวคือเมื่อชาวไร่ชาวนา
มีรายได้เพิ่มขึ้นจากชีวมวล จะนำเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายหมุนเวียนในท้องถิ่นเช่นค่าจ้างคนเก็บและรวบ
รวมชีวมวล คนเหล่านี้จะนำเงินไปใช้จ่ายต่ออีกทอดหนึ่ง เป็นอย่างนี้เรื่อยไป
7. ประหยัดเงินตราต่างประเทศเพราะไม่ต้องนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศเช่น น้ำมันเตา และถ่าน
หิน เป็นต้น นอกจากนี้ชีวมวลมีประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆเช่นใช้เป็นวัะตถุดิบผลิตสินค้า ปุ๋ย และ
กิจกรรมทางการเกษตร ยกตัวอย่างเช่น
8. แปรรูปเป็นปุ๋ย โดยการนำเศษใบไม้ ใบหญ้าและฟางข้าวเป้นต้นมาหมักสัก 2-3 เดือน หรือปล่อยให้
ย่อยสลายใในสวนทในไร่ตามธรรมชาติก็ได้เช่นกัน
9. เป็นวัตถุดิบเช่นการนำเศษไม้จากโรงเรื่อยยางพารามาย่อยและอัดเป็นแผ่นปาร์ติเคิลบอร์ด จากนั้น
นำไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
10. เพาะเห็ดจากขี้เลื่อย และทลายปาล์มเปล่า
11. ใช้ในกิจกรรมปศุสัตว์ เช่น โรยแกลบในโรงเลี้ยงไก่
Home
About us
Wood Pellet
Contact us
บริษัท เอฟ เอ สยาม เอนเนอจี จำกัด
เลขที่
89 หมู่ 6 ตำบลห้วยบง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี 18000
โทร./แฟกซ์. 036 275 511
Email : admin@fasiamenergy.com
Current Pageid = 499